ความดันโลหิตสูง ฆาตกรเงียบโรคที่รักษาไม่หาย พบงานวิจัยเห็ดหลินจือช่วยลดไขมันอุดตันเส้นเลือด ปรับความดันโลหิตให้สมดุล กินเห็ดหลินจือแดงช่วยอย่างไร? รักษาได้ไหม? โรคความดันโลหิตสูง เริ่มแรกมันจะไม่มีอาการที่รุนแรง โดยอาการที่อาจพบได้ เช่น ปวดศีรษะนอนไม่หลับ มึนงง วิงเวียน หายใจหอบ แน่นหน้าอก ตาพร่ามัว
แต่ความดันโลหิตสูงจะค่อยๆ สร้างความเสียหายต่ออวัยวะในร่างกาย สามารถทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอเมื่อหัวใจของคุณไม่สามารถสูบฉีดโลหิตเพียงพอสำหรับร่างกายของคุณ ในระยะยาวถ้าไม่ได้รับการรักษาความดันโลหิตสูงสามารถทำให้ตาบอด เส้นเลือดสมองแตกส่งผลให้เกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และอาจถึงขั้นเสียชีวิต
ความรุนแรงและผลข้างเคียงของโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งหมายถึงเป็นโรคที่รักษาให้หายยาก แต่สามารถรักษาควบคุมได้เสมอเมื่อรักษาควบคุมอาการตั้งแต่แรก ปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาลแนะนำ และกินยาอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ไม่ขาดยา แต่ถ้า ดูแล รักษา ควบคุมโรคได้ไม่ดี
อันตรายจากความดันโลหิตสูง
- หัวใจล้มเหลว
- เส้นเลือดสมองแตก
- ไตวาย ไตล้มเหลว
- ความเสียหายต่อสมอง
- โรคหัวใจ หัวใจวาย
- โรคหลอดเลือดสมอง
- สูญเสียการมองเห็น
- โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
- เสียชีวิต
อนึ่ง โรคความดันโลหิตสูงแบ่งตามความรุนแรงของโรค (ตามความดันโลหิต) จากรุนแรงน้อยไปหามาก ได้ดังนี้
- ความดันโลหิตในผู้มีแนวโน้มจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง คือ 120-139/80-89 มม.ปรอท (แนวทางการรักษา คือการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ทั้งนี้แพทย์มักยังไม่ให้ลดความดันโลหิต)
- โรคความดันโลหิตสูงระยะ 1 คือ ความดันโลหิตอยู่ในช่วง 140-159/90-99 มม.ปรอท
- โรคความดันโลหิตสูงระยะ 2 คือ ความดันโลหิตตั้งแต่ 160/100 มม.ปรอทขึ้นไป
- โรคความดันโลหิตสูงที่ต้องพบแพทย์ใน 24 ชั่วโมง คือ ความดันโลหิตสูงตั้งแต่ 180/110 มม.ปรอทขึ้นไป เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ อาจจากโรคหัวใจ สมอง ไต ล้มเหลว
- โรคความดันโลหิตสูงที่ต้องพบแพทย์ฉุกเฉิน คือ ความดันโลหิตสูงตั้งแต่ 220/140 มม.ปรอทขึ้นไป เพราะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ จากการทำงานล้มเหลวของอวัยวะสำคัญต่างๆ เช่น หัวใจ สมอง และไต
หมายเหตุ : ปกติเมื่อวัดความดันแล้วจะมีตัวเลข 2 ค่า เช่น 120/80 ตัวเลขสองตัวนี้ ตัวแรกหรือตัวบนเรียกว่า ค่าความดันซิสโตลิก(Systolic) เป็นตัวที่บ่งบอกว่าขณะที่หัวใจบีบตัวนั้นความดันในหลอดเลือดแดงมีค่าเท่าไร? ส่วนตัวที่สองหรือตัวล่างเรียกว่า ค่าความดันไดแอสโทลิก (Diastolic) เป็นตัวที่บ่งบอกว่าขณะที่หัวใจคลายการบีบตัวนั้นความดันในหลอดเลือดแดงมีค่าเท่าไร?
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิต
- กินอาหารเค็มสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง เพราะเกลือโซเดียม หรือ เกลือทะเลเป็นตัวอุ้มน้ำในเลือด จึงช่วยเพิ่มปริมาตรของเลือดที่ไหลเวียน จึงส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
- โรคเบาหวาน เพราะก่อให้เกิดการอักเสบ ตีบแคบของหลอดเลือดต่างๆ รวมทั้งของไต
- พันธุกรรม โอกาสมีความดันโลหิตสูง จะสูงขึ้นเมื่อมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้
- โรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ (Sleep apnea)
- โรคอ้วน และน้ำหนักตัวเกิน เพราะเป็นสาเหตุสำคัญของโรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดต่างๆตีบจากภาวะไขมันเกาะผนังหลอดเลือด
- โรคไตเรื้อรัง เพราะจะส่งผลถึงการสร้างเอ็นไซม์และฮอร์โมนที่ควบคุมความดันโลหิต
- สูบบุหรี่ เพราะสารพิษในควันบุหรี่ส่งผลให้เกิดการอักเสบ ตีบตันของหลอดเลือดต่าง รวมทั้งหลอดเลือดไต และหลอดเลือดหัวใจ
- การติดสุรา ซึ่งยังไม่ทราบชัดเจนถึงกลไกว่าทำไมดื่มสุราแล้วจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูง แต่การศึกษาต่างๆให้ผลตรงกันว่า คนที่ติดสุรา จะส่งผลให้หัวใจเต้นแรงกว่าปกติ และมีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูง ถึงประมาณ 50%ของผู้ติดสุราทั้งหมด
- ขาดการออกกำลังกาย เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคอ้วนและโรคเบาหวาน
- ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์
เห็ดหลินจือรักษาความดันโลหิตสูง-ต่ำอย่างไร?
โรคความดันโลหิตสูงนั้นยังไม่มียารักษาให้หายขาด เพราะแม้แต่สมมติฐานของโรคก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า เพราะอะไรที่เป็นสาเหตุให้คนเราเป็นโรคนี้ แต่ด้วยประโยชน์จากสรรพคุณเห็ดหลินจือ ที่สามารถช่วยทำให้ชีวิตของคนเป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในภาวะปลอดภัยจากโรคแทรกซ้อนได้ เนื่องจากคุณสมบัติของสารสำคัญที่มีในเห็ดหลินจือ
- ลดไขมันอุดตันในเส้นเลือด มีสารกลุ่มไตรเตอพีนอยด์ (Triterpenoid) ที่มีคุณสมบัติในการช่วยซ่อมแซมหลอดเลือด ไขมันในเลือดสูงยังส่งผลให้ไขมันไปอุดตันเส้นเลือด ทำให้เลือดไม่สามารถไหลผ่านหลอดเลือดหัวใจจะต้องออกแรงดันที่สูงขึ้นเพื่อผลักดันเลือดส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกายส่งผลให้ความดันสูงเห็ดหลินจือมันจึงช่วยในการลดความดันโลหิตสูงตามธรรมชาติ
- เพิ่มออกซิเจนในกระแสโลหิต เพราะมีสารจำพวก “ออร์แกนิกเยอร์มาเนียม” ในเห็ดหลินจือจะช่วยดึงออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือดเพิ่มขึ้น ทำให้หัวใจไม่ต้องใช้แรงบีบเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกาย
- ลดความข้นเหนียวของเลือด ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างได้ดีขึ้น (คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เลือดข้น) ซึ่งถ้าในเลือดมีไขมันมากจะทำให้เลือดข้นไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆได้ยากขึ้นหัวใจจึงต้องบีบตัวมากขึ้นส่งผลให้เกิดภาวะความดันสูง
- ขยายหลอดเลือดหัวใจเพิ่มการไหลเวียนเลือด
- สารในเห็ดหลินจือแดงสรรพคุณปรับความดันโลหิตให้สมดุล ถ้าความดันโลหิตสูงขึ้นจะช่วยให้ลดลง หากความดันเลือดต่ำจะปรับให้สูง
งานวิจัยเห็ดหลินจือกับความดันโลหิตสูง
- มีการทดลองทางคลินิกวิทยาในปี 1985 นักวิจัยชาวญี่ปุ่นจาก Surugadai Nihon University Hospital in Tokyo ให้เห็ดหลินจือที่สกัดด้วยน้ำร้อนกับผู้ป่วย 40 คนที่มีความดันโลหิตสูงมากกว่า 160 และ 95 มิลลิเมตรปรอท หลังจาก 6 เดือนผ่านไป 60% ผลสรุปว่าความดันโลหิตของผู้ป่วย ลดลงมากถึง 20 มิลลิเมตรปรอท
- ในปี 1986 โดยนักวิจัยชาวญี่ปุ่น พบว่าสารไตรเตอพีนอยด์ (Triterpene) ในเห็ดหลินจือยังทำหน้าที่ดูแลเอนไซม์ที่เรียกว่า ‘‘angiotensin converting enzyme` (ACE). (อ้างอิง 3) เป็นเอนไซม์สำคัญในที่ให้เกิดการหดตัวของเส้นเลือดให้อยู่ในระดับที่ปกติ แต่ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวนมากมี ‘‘angiotensin converting enzyme` (ACE) เข้มข้นสูงกว่าปกติ ดังนั้นการยับยั้งของกิจกรรม ACE เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลดความดันโลหิตสูง
- ในปี 1988 นักวิจัยชาวญี่ปุ่นจากมหาวิทยาลัยโตโฮกุ (Tohoku University in Sendai) ประเทศญี่ปุ่นพบว่าหลังจากให้หนูทดลองกินสารสกัดจากเห็ดหลินจือเป็นเวลา 28 วัน ความดันโลหิตลดลงมากกว่า 10 มิลลิเมตรปรอท และยังสามารถลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดของหนูได้อย่างมีนัยสำคัญ
- มีงานวิจัยที่ได้ศึกษากับผู้ป่วยจำนวน 53 รายที่มีความดันโลหิตสูงขณะที่หัวใจบีบตัวมากกว่า 165.5 (systolic) และแรงดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัวมากกว่า 106.4 (diastolic) เป็นเวลา 120 วันพบว่า ความดันโลหิตของกลุ่มวิจัยลดลงโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 136.6 / 92.8 (อ้างอิง1,2)
- มีการศึกษาทางคลินิกและการทดลองกับสัตว์ทดลองยืนยันผลของเห็ดหลินจือว่ามีประสิทธิภาพสามารถขยายหลอดเลือดหัวใจเพิ่มการไหลเวียนของเลือดหัวใจและการไหลเวียนของเส้นเลือดฝอยในกล้ามเนื้อหัวใจจึงเพิ่มปริมาณออกซิเจนและพลังงานไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ ดังนั้นเห็ดหลินจือช่วยในการปกป้องหัวใจจากการขาดเลือด
จากผลการวิจัยเห็ดหลินจือของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า “สปอร์เห็ดหลินจือกะเทาะเปลือก” เป็นส่วนที่ดีและให้ประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะส่วนสปอร์หรือกะเทาะเยื้อหุ้ม เพราะอุดมไปด้วยสารออกฤทธิ์ทางยาในปริมาณที่เข้มข้นและสูงกว่าสารสกัดส่วนอื่นของเห็ดหลินจือหลายเท่า
ดังนั้นเห็ดหลินจือแดงรักษาโรคความดันโลหิตสูง หรือต่ำ จึงเป็นตัวช่วยอีกทางหนึ่งที่จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้จริง โดยไม่มีผลข้างเคียงจากสรรพคุณ เมื่อใช้ควบคู่ไปกับการปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม
การดูแลตนเองเมื่อป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง
- ปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาล แนะนำอย่างเคร่งครัด ถูกต้อง
- กินยาต่างๆให้ครบถ้วน ถูกต้อง ไม่ขาดยา
- จำกัดอาหาร แป้ง น้ำตาล ไขมัน และอาหารเค็ม
- จำกัดอาหารไม่ให้เกิดโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน
- ออกกำลังกายตามสุขภาพสม่ำเสมอทุกวัน
- รักษาสุขภาพจิต ไม่เครียด เข้าใจและยอมรับชีวิต
- เลิกบุหรี่ ไม่สูบบุหรี่ เลิกสุรา
- พบแพทย์ตามนัดเสมอ และรีบพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อมีอาการผิดปกติไปจากเดิม หรือ เมื่ออาการต่างๆเลวลง หรือ เมื่อกังวลในอาการ
- รีบพบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง หรือ ฉุกเฉิน ขึ้นกับความรุนแรงของอาการเมื่อ
– ปวดศีรษะมาก
– เหนื่อยมากกว่าปกติมาก เท้าบวม (อาการของโรคหัวใจล้มเหลว)
– เจ็บแน่นหน้าอก ใจสั่น เหงื่อออกมาก จะเป็นลม (อาการจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งต้องพบแพทย์ฉุกเฉิน)
– แขน ขาอ่อนแรง พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว คลื่นไส้ อาเจียน (อาการจากโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งต้องพบแพทย์ฉุกเฉิน)
^-^ กดปุ่มแชร์ในโซเชียลมีเดีย ถ้าบทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณ แบ่งปันเรื่องราวดีๆ ให้เพื่อนๆ เพื่อคนไทยมีสุขภาพที่ดี!! ^-^
อ้างอิงงานวิจัย
1. Katsuo Kanmatsue, Nagao K., et al; Studies on Ganoderma lucidum. I. Efficacy against Hypertension and Side Effects; Yakugako Zasshi 1985 105(10): 942-947.
2. Yearul K., Shuichi K. et al; Dietary Effect of Ganoderma lucidum Mushroom on Blood Pressure and Lipid Levels in Spontaneous Hypertensive Rats; Journal of Nutritional Science and Vitaminology 1988; 34(4): 433-438.
3.Aiko M, Katsuaki K, et al; Angiotensin Converting Enzyme-inhibitory Triterpenes from Ganoderma lucidum; Chem and Pharm Bulletin 1986, 37(2): 531-533