เห็ดหลินจือ ลดเสี่ยง เลี่ยง “กระดูกเสื่อม กระดูกพรุน กระดูกอ่อน”

โรคกระดูกพรุน กระดูกเสื่อม กระดูกอ่อน ไม่ได้เกิดกับผู้สูงอายุเท่านั้น หนุ่มสาวก็มีโอกาสเป็น กินอะไรดี? รักษา “เห็ดหลินจือ” ช่วยลดความเสี่ยงของโรคกระดูกเสื่อม กระดูกพรุน กระดูกอ่อน เลี่ยงปัญหา ปลอดภัยไม่มีผลข้างเคียง

ปวดกระดูก เจ็บเข่า กระโดดไม่ไหว เอี้ยวตัวลำบาก อาการของโรคที่เกิดจากปัญหากระดูกทั้ง 3 แบบ แต่ไม่ได้เป็นโรคเดียวกัน แต่เป็นภาวะที่มีปริมาณแร่ธาตุสำคัญคือ “แคลเซียม” ในกระดูกลดลงร่วมกับความเสื่อมของเนื้อเยื่อที่ประกอบเป็นโครงสร้างภายในกระดูก ทำให้เนื้อหรือมวลกระดูกมีความหนาแน่นลดลง จึงเปราะและแตกหักได้ง่าย

เห็ดหลินจือ วิธีรักษาโรคกระดูกเสื่อม กระดูกพรุน กระดูกอ่อน กินอะไรดีหาย

โรคกระดูกเสื่อม กระดูกพรุน และกระดูกอ่อน ความแตกต่าง

โรคกระดูกเสื่อม มักพบในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำงานหนักอย่างชาวไร่ชาวนา พ่อค้า แม่ค้าและกรรมกร คือโรคที่มีการเสื่อมของกระดูกอ่อนของข้อที่มีการเคลื่อนไหวมาก เช่น ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อมือ ข้อศอก ข้อไหล่ และข้อนิ้วมือนิ้วเท้าซึ่งส่วนประกอบหลักของกระดูกอ่อนเหล่านี้ คือ ออกซิเจนและสารอาหาร(โปรตีน)ที่จะทำให้กระดูกอ่อนมีความยืดหยุ่นทนต่อแรงกระแทกและเสียดสีแต่เมื่อใช้ไปนาน ๆ ก็จะเกิดการเสื่อมและสึกหรอ เมื่อเสื่อมแล้วก็จะเกิดอาการปวดขัดตามข้อ ข้อโปนและผิดรูป เมื่อไปโรงพยาบาล จะได้ยาแก้อักเสบ บรรเทาปวด ยาลดกรด ยาเคลือบกระเพาะ แคลเซียม รวมถึงกลูโคซามีน เป็นหลัก แต่รู้กันหรือไม่ว่าห้ามกินยาลดกรดกับแคลเซียม เพราะจะไม่ดูดซึม อาจทำให้ท้องผูก และไม่เกิดประโยชน์อะไร กระดูกอ่อนเสื่อมไม่ได้เกี่ยวอะไรกับแคลเซียม

โรคนี้ทั่วไปในการรักษา ถ้าปวดมากให้ใช้ยาบรรเทาปวดหรือลดการอักเสบเป็นครั้งคราว ลดการใช้งานของข้อนั้น ๆ บริหารข้อเพื่อสร้างความแข็งแรง รวมถึงอาจใช้ยาเสริมกระดูกพวกกลูโคซามีนช่วย

โรคกระดูกพรุน หรือกระดูกโปร่งบาง บางครั้งเรียกว่ากระดูกผุ มักพบในผู้สูงอายุและสตรีหลังหมดประจำเดือน โรคนี้เป็นการเสื่อมของกระดูกแข็งที่เป็นโครงสร้างของร่างกายโดยมีเนื้อเยื่อกระดูกและแคลเซียมลดลง ทำให้กระดูกทรุดลงและแตกหักง่าย

โรคกระดูกพรุน จะเป็นจุดขายของบรรดาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมต่างๆ ที่เกี่ยวกับ “แคลเซี่ยม” ส่งเสริมการขายด้วยการวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้สูงอายุและสตรีสูงอายุเกือบทุกรายถ้าได้ตรวจก็จะพบว่ากระดูกบางกว่าปกติ แล้วก็จะได้แคลเซียมมา ซึ่งมักกำหนดให้กินในขนาดสูงๆ (ไม่ต่ำกว่า 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน)

แต่จริงๆ แล้วซึ่งถ้ากินอาหารได้ตามปกติ แคลเซียมจะมีในอาหารหลาย ๆ ประเภท เช่น ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง นม หรือแม้กระทั่งผักใบเขียว ถ้าเทียบตามน้ำหนักพบว่า นมวัวมีแคลเซียมน้อยกว่ากุ้งแห้งเกือบ 20 เท่า ยิ่งถ้ากินอาหารครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เพียงพอก็จะไม่ขาดสารอาหารใดๆ รวมถึงแคลเซียม เพื่อให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนได้ปกติ

โรคกระดูกอ่อน มักพบในคนที่ขาดวิตามินดี เด็กช่วงอายุ 6 เดือนถึง 3 ขวบ และคนที่ขาดสารอาหารรุนแรง ผู้สูงอายุที่ขาดการเคลื่อนไหวและไม่ได้สัมผัสแสงแดด ผู้ป่วยที่มีปัญหาต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ หรือผู้ป่วยไตพิการ

โรคกระดูกอ่อน เกิดจากกระดูกขาดแคลเซียมโดยที่เนื้อเยื่อกระดูกปกติ ความแข็งแรงจึงลดลงแต่ยืดหยุ่นมากขึ้น โรคนี้ถือว่าร่างกายขาดแคลเซียมอย่างแท้จริงและจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและเหมาะสม ด้วยการให้ทั้งแคลเซียมและวิตามินดี

มีการศึกษาที่น่าสนใจในสหรัฐอเมริกาพบว่า ผู้ที่มีระดับวิตามินดีในเลือดต่ำจะมีความเสี่ยงต่อการลุกลามของปัญหาเกี่ยวกับกระดูก มากกว่าผู้ที่มีระดับวิตามินดีสูง ดังนั้นนอกจากจะต้องรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว ควรออกกำลังกายกลางแจ้งอย่างสม่ำเสมอด้วย

เห็ดหลินจือ วิธีดูแลรักษา กระดูกเสื่อม กระดูกพรุน และกระดูกอ่อน

สรรพคุณจากเห็ดหลินจือ ไม่มีผลข้างเคียง ดีที่สุดจาก “สปอร์” สารสำคัญทางยา ที่มากกว่า ดอก/ราก มีงานวิจัยพบว่าสปอร์เห็ดหลินจือมีเจอเมเนียมที่ช่วยควบคุมแคลเซียมในกระดูก และฮอร์โมนที่กระตุ้นการสร้างวิตามินดีเพื่อให้กระดูกสามารถดูดจับแคลเซียมได้ดีขึ้น และช่วยเพิ่มออกซิเจนในเลือดให้สูงขึ้นได้ เสริมสร้างภูมิต้านทานแก่ร่างกาย ป้องกันโรคที่เกี่ยวเนื่องจากกระดูก เสริมสร้างกระดูกวัยเด็ก ทำให้อาการปวดตามข้อ จากภาวะเสื่อมของกระดูก ต่างๆ หายไป สามารถทานต่อเนื่องได้โดยไม่ส่งผลต่อไต!

วโรยา สปอร์เห็ดหลินจือ MG2 เมืองงาย สมุนไพรสรรพคุณสุขภาพ

สำหรับผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพ การทานเห็ดหลินจือช่วยป้องกัน รักษาโรคเกี่ยวกับข้อ หรือ กระดูกเสื่อม กระดูกพรุน กระดูกอ่อน จึงเป็นวิธีรักษาอีกทางหนึ่งที่จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้จริง ช่วยแก้ปัญหาภาวะเสื่อมจากกระดูก หรืออักเสบได้ โดยไม่มีผลข้างเคียง เมื่อใช้ควบคู่ไปกับการปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม เคล็ดลับให้ร่างกายแข็งแรง

^-^ กดปุ่มแชร์ในโซเชียลมีเดีย แบ่งปันเรื่องราวดีๆ ให้เพื่อนๆ เพื่อคนไทยมีสุขภาพที่ดี!! ^-^

อ้างอิง : doctor.or.th
         จดหมายข่าวองค์การอนามัยโลก