6 อาการแผลในกระเพาะอาหาร ปวดเป็นๆ หายๆ และเป็นเรื้อรัง จากภาวะมีกรดในกระเพาะอาหารมาก กรดนี้จะไปสร้างความระคายเคืองกระเพาะ จนทำให้เกิดแผลที่ผนังของกระเพาะอาหาร รู้จักสาเหตุ ควรงด ห้าม นอกจากรักษาด้วยยา สมุนไพรเห็ดหลินจือ ทางเลือกปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียง
คุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่ !! ปวดท้อง แน่นท้อง จุกแน่น เป็นๆ หายๆ
โรคแผลในกระเพาะอาหาร (Peptic ulcer) เรียกย่อว่า โรค พียู (PU) หรือ พียูดี (PUD, Peptic ulcer disease) หรืออาจเรียกว่า โรคแผลในกระเพาะอาหาร (Gastric ulcer) ได้แก่ โรคซึ่งเกิดมีแผลขึ้นในกระเพาะอาหาร ,ลำไส้เล็กส่วนต้น อาจเกิดแผลในบริเวณปลายหลอดอาหารส่วนที่อยู่ต่อกับกระเพาะอาหารร่วมด้วยได้ ทั้งนี้ เกิดจากเยื่อเมือกบุภายในทางเดินอาหารเหล่านี้ถูกทำลายโดยน้ำย่อยจากกระเพาะอาหาร
สาเหตุ โรคแผลในกระเพาะอาหาร
- มีกรดและน้ำย่อยหลั่งออกมาในกระเพาะอาหาร แล้วทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ร่วมกับมีความบกพร่องของเยื่อบุกร
- เพราะอาหารที่สร้างแนวต้านทานกรดไม่ดี
- ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น เฮพาริน (Heparin) วอร์ฟาริน
- ยากลุ่ม NSAID เช่นยาแอสไพริน ยารักษาโรคกระดูกและข้ออักเสบ
- ยาสเตียรอยด์ (Steroids)
- การสูบบุหรี่ ความเครียด สุรา อาหารรสจัด
- เชื้อแบคทีเรีย เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (H.pylori)
6 อาการสำคัญของโรคแผลในกระเพาะอาหาร
- อาการปวดเป็นๆ หายๆ และเป็นเรื้อรัง
- แน่นท้อง ท้องอืด มีลมมาก เมื่อเราผายลมจะดีขึ้น อาจมีคลื่นไส้ หรืออาเจียนร่วมด้วย
- ปวดจุกแน่นท้อง บริเวณใต้ลิ้นปี่หรือหน้าท้องช่วงบนส่วนใหญ่จะปวดเวลาท้องว่างหรือเวลาหิว
- อาหารปวดแน่นท้องจะบรรเทาได้ด้วยอาหารหรือยาลดกรด แต่บางคนปวดมากขึ้นหลังอาหารโดยเฉพาะอาหารรสจัด
- บางคนปวดแน่นท้องตอนกลางคืนหลังนอนหลับ
- มีอาการเรื้อรังเป็นปี แต่สุขภาพโดยทั่วไปไม่ทรุดโทรม น้ำหนักไม่ลด ไม่ซีดลง
ภาวะแทรกซ้อน โรคแผลในกระเพาะอาหาร
กระเพาะอาหารอุดตัน ผู้ป่วยจะกินได้น้อย อิ่มเร็ว อาเจียนหลังอาหาร เกือบทุกมื้อ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดตกเลือดในกระเพาะอาหาร (Upper GI bleeding) ผู้ป่วยจะมีอาการ อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำเหลว หน้ามืด วิงเวียน เป็นลมกระเพาะอาหารทะลุ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องเฉียบพลันรุนแรง หน้าท้องตึงแข้ง กดเจ็บมาก
การตรวจวินิจฉัย
- การตรวจโดยวิธีการส่องกล้องทางเดินอาหาร (Gastroscopy) เป็นวิธีมาตรฐานที่ดีที่สุดและมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพราะสามารถเห็นรายละเอียดของกระเพาะอาการและลำไส้เล็กส่วนต้นได้ชัดเจนดีกว่าการกลืนแป้ง การส่องกล้องช่วยยืนยันการวินิจฉัย และสามารถยืนยันตำแหน่งและขนาดของแผลที่ตรวจพบได้ นอกจากนี้การส่องกล้องฯ สามารถตรวจหาเชื่อ H.pylori โดยคีบชิ้นเนื้อเล็กๆ มาตรวจหาเชื้อหรือส่งตรวจพยาธิสภาพกรณีสงสัยมะเร็งกระเพาะอาหารได้ด้วย
- การเอ็กซเรย์กลืนแป้ง (Upper GI Study) การตรวจที่สามารถทำได้ง่าย สะดวก เป็นการตรวจขั้นต้น แต่ไม่สามารถนำชิ้นเนื้อไปตรวจเพิ่มเติมได้
- การตรวจหาเชี้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (H.pylori) สามารถตรวจด้วยวิธีการส่องกล้องหรือตรวจจากลมหายใจด้วยวิธีการเป่า
สมุนไพรเห็ดหลินจือกับโรคแผลในกระเพาะอาหาร
อีกทางเลือกในการรักษา ดูแลสุขภาพ สารทางยาใน “สปอร์เห็ดหลินจือ“ คือไตรเตอร์พีนอยด์ ฤทธิ์ต้านอักเสบ โดยการยับยั้งเอนไซม์ที่เป็นสาเหตุอักเสบชนิดหนึ่ง พบว่าลดการอักเสบได้ 47% หรือเท่ากับยาสเตียรอยด์ จึงช่วยแก้ปัญหาโรคกระเพาะอักเสบ ทางเดินอาหารอักเสบเรื้อรังได้ และมีสารโพลีแซคคาไลน์ ลดการอักเสบกระตุ้นการทำงานเม็ดเลือดขาว โดยเฉพาะดักจับทำลายเชื้อโรค และมีสารออกฤทธิ์อื่นๆ เช่น โปรตีเอส มีคุณสมบัติเป็นยาปฏิชีวนะ ทำหน้าที่ย่อยสลายแบคทีเรีย ทำให้แผลในกระเพาะอาหารหาย
นอกจากนี้เมื่อทานสปอร์เห็ดหลินจือ จะปรับระบบเลือดให้มีความเป็นด่าง ทำให้กรดในร่างกายอยู่ในสมดุล ทำให้ระบบการย่อยอาหารปกติ ลดการหลั่งกรดมากเกินในกระเพาะ กลไกจะคล้ายการรักษาโรคกรดไหลย้อน
หลังการรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร ควรหลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดจัด เปี้ยวจัด อาหารหมักดอง น้ำอัดลม ห้าม หรืองดสูบบุหรี่ และงดดื่มสุรา งดการใช้ยาแก้ปวดแอสไพริน และยาแก้อักเสบทุกชนิด ถ้ามีความจำเป็นต้องรับประทานให้รับประทานหลังอาหารทันทีและดื่มน้ำตามมากๆ ห้ามรับประทานยาตอนท้องว่าง
เมื่อทราบสาเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหาร อาการ และสาเหตุการเกิดโรคกันแล้ว มาใส่ใจดูแลกระเพาะอาหารด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อห่างไกล โรคนี้ได้เช่นกัน