สปอร์เห็ดหลินจือ MG2 จากการวิจัยผสมสายพันธุ์เห็ดหลินจือแดงที่ดีที่สุดของเกาหลี และ เห็ดหลินจือป่าสีม่วง ซึ่งมีสรรพคุณทางยาสูงของจีน ประโยชน์ดีที่สุดจากสปอร์ที่กะเทาะเปลือก จากการวิจัยสายพันธุ์ที่ดีที่สุด กว่า 3 ปีโครงการสวนเกษตรเมืองงาย สรรพคุณทางยาด้วยสารออกฤทธิ์ที่ป้องกัน รักษาโรค ที่มากกว่าเห็ดหลินจือแดงสายพันธุ์อื่นๆ
ทำไม? ต้องสปอร์เห็ดหลินจือ MG2 สายพันธุ์ใหม่
- พัฒนาจากเห็ดหลินจือ G9 สรรพคุณทางยาชั้นยอดของโลก จากศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวภาพประเทศจีน
- วิจัยขบวนการเพาะเลี้ยง และผลิตสปอร์ตามแนวทางเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ให้ได้สรรพคุณทางยาที่สูงที่ดีที่สุด
- วิจัยตั้งแต่การเก็บสปอร์ เครื่องกะเทาะเปลือกให้ได้ประสิทธิภาพทำให้สปอร์แตกมากกว่า 95% การศึกษาพัฒนาตำรับยาให้เหมาะสมกับทานเพื่อการบำรุงและรักษาโรค คงคุณภาพของสปอร์เห็ดหลินจือก่อนนำไปใช้
- วิจัยเปรียบเทียบสปอร์เห็ดหลินจือ MG2 พบสารออกฤทธิ์ทางยาสูงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ
- วิจัยฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งของสปอร์เห็ดหลินจือ MG2 ทำให้เซลล์มะเร็งตายได้
สมุนไพรเห็ดหลินจือ นิยมใช้ในดูแลสุขภาพร่างกาย และในกลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพ เนื่องจากยังมีสารสำคัญอื่น ๆ ที่มีฤทธิ์ช่วยบำรุงสุขภาพ ต้านการอักเสบ ช่วยยับยั้งและรักษาอาการต่าง ๆ ของโรคได้มากมาย ซึ่งพบได้ทั้งในดอกเห็ดและสปอร์ แต่ส่วนใหญ่พบในสปอร์ โดยในตำรับยาโบราณของจีนระบุไว้ อ่านต่อ… “เห็ดหลินจือ” นำมาใช้รักษาโรคอะไรบ้าง
1.สรรพคุณทางยา ชั้นยอดของโลก (World Class Premium)
- เห็ดหลินจือ MG2 (เมืองงาย 2) พัฒนาจากเห็ดหลินจือสายพันธุ์ใหม่ของโลก คือ G9 ซึ่งเกิดจากการวิจัยผสมสายพันธุ์เห็ดหลินจือแดงที่ดีที่สุดของเกาหลี และ เห็ดหลินจือป่าสีม่วง ซึ่งมีสรรพคุณทางยาสูงของจีน วิจัยโดยศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวภาพด้านรักษาโรคนิวส์ไฮต้าเหลียน และ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยการเกษตรแห่งประเทศจีน สายพันธุ์ G9 ซึ่งมีสรรพคุณทางยายอดเยี่ยมของโลก
- ปี พ.ศ.2550 มีการนำเนื้อเยื่อเห็ดหลินจือ G9 ส่งมอบให้โครงการหลวงสวนจิตรลดา แต่เนื่องจากสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมือนเดิม ไม่เหมาะกับเห็ดหลินจือจึงได้ส่งต่อให้โครงการสวนเกษตรเมืองงาย จ.เชียงใหม่ เพื่อสร้างรายได้เกษตรในพื้นที่ด้วย
สรรพคุณทางยาสปอร์เห็ดหลินจือ G9 ภาษาจีน
สรรพคุณทางยาแปลจากต้นฉบับ
ภาพเปรียบเทียบลักษณะและปริมาณสปอร์ G2 และ G9
- ต่อมาได้นำเนื้อเยื่อเห็ดหลินจือ G9 จากประเทศจีน ทำการทดลองเพาะเลี้ยง และวิจัยที่โครงการพิเศษสวนเกษตรเมืองงาย อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ อ้างอิง…งานวิจัยโครงการสปอร์เห็ดหลินจือ ซึ่งมีอุณหภูมิเย็น สบาย อากาศบริสุทธิ์ ปลอดโปร่ง เหมาะแก่การเพาะเลี้ยงเห็ดหลินจือ พร้อมทั้งได้แต่งตั้งคณะทำงาน ชุดโครงการ “วิจัยเห็ดหลินจือ และสปอร์เห็ดหลินจือในประเทศไทย” ปี 2551-2554 แบบบูรณาการณ์ ตั้งแต่ การหาสายพันธุ์ทางยาที่ดีที่สุด การเพาะปลูก การวิจัยทางยาระดับพรีคลินิก และคลินิก โดยมี 12 หน่วยงาน ทำหน้าที่ อาทิ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ,คณะเภสัชศาสตร์ และคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ,องค์การเภสัชกรรม, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และ โครงการพิเศษสวนเกษตรเมืองงาย เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม ...
2.ขบวนการเพาะเลี้ยง และผลิตสปอร์ตามแนวทางเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP : Good Agriculture Practics)
- เป็นระยะเวลากว่า 3 ปี ที่โครงการวิจัยฯ ได้ทดลองใช้วิธีการเพาะเลี้ยงแบบต่างๆ จนประสบความสำเร็จ และพบว่าการเพาะเลี้ยง และผลิตสปอร์ที่ได้ผล และเหมาะสมกับภูมิอากาศประเทศไทยนั้นต้อง ใช้พันธุ์ไม้ในการเพาะเลี้ยง คือ ไม้ลำไย และ ไม้สะเดา ระยะเวลาเก็บเกี่ยวที่สปอร์เห็ดหลินจือมีคุณค่าทางยาสูงคือ 110 วัน (ดังนั้นใน 1 ปี จะเพาะเลี้ยงเพื่อผลิตสปอร์ได้เพียง 2 ครั้ง และพักในโรงเรือนเพื่อกำจัดแมลง และสะอาดปลอดภัย เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 เดือน และใน 1 ปี สามารถเพาะเลี้ยงเห็ดหลินจือเพื่อนำสปอร์ใช้ประโยชน์ได้ในช่วงเดือน มกราคม-ตุลาคม หลังจากนั้นอากาศจะหนาวเย็นจะทำให้ดอกเห็ดหงิกงอ สปอร์จะไม่เกิด)
เมื่อคณะทำงานได้ทดลองและวิจัยขบวนการเพาะเลี้ยงสปอร์เห็ดหลินจือ G9 สำเร็จ จึงมีความเห็นชอบ เรียกชื่อสายพันธุ์สปอร์เห็ดหลินจือ ใหม่ เป็น “MG2 (เมืองงาย 2)”
- โครงการสวนเกษตรเมืองงาย ได้รับใบรับรอง แหล่งผลิตพืช (GAP) จากกรมวิชาการเกษตร ตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน จึงให้ความมั่นใจได้ว่า การผลิต การเก็บเกี่ยว การรักษาผลผลิต มีความสะอาด ปลอดภัยสูง ปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ สารปนเปื้อน สภาพแวดล้อมการเพาะปลูก อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม มีการควบคุมแสงแดด และ แมลงศัตรูพืช เป็นต้น
ใบรับรอง GAP จากกรมวิชาการเกษตร
3.ทุกขั้นตอน ขบวนการผลิตเพื่อสรรพคุณทางยา ผ่านการวิจัย จนได้ผลเป็นที่พอใจ ปลอดภัย ก่อนนำไปใช้
- การวิจัยวิธีการเก็บสปอร์ ต้นทุนการเพาะปลูก การกะเทาะเปลือกหรือผนังหุ้มของสปอร์ และปริมาณสารออกฤทธิ์ทางยา พบว่า วิธีการเก็บสปอร์ที่ดีที่สุด คือ การใช้พู่กันปาดเก็บสปอร์ไม่ใช่ใช้การดูด ที่รวดเร็วกว่า เพราะจะทำให้เกิดการปนเปื้อนของฝุ่นละออง
- การวิจัยเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเครื่องกะเทาะเปลือกสปอร์ชนิดต่างๆ จนพบว่า เครื่อง Ball Mill ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลจีน มูลค่าหลายสิบล้านบาท มีประสิทธิภาพทำให้สปอร์แตกมากกว่า 95% ซึ่งเหมาะสมกับประสิทธิภาพทางยา โดยมีรอบระยะเวลามากกว่า 20 นาทีต่อน้ำหนักสปอร์ที่นำมากะเทาะเปลือกครั้งละ 200 กรัม(เปรียบเทียบขนาดการบรรจุเป็นแคปซูลยา 450 มิลลิกรัม/แคปซูล) จะสามารถผลิตยาแคปซูลได้ครั้งละประมาณ 400 แคปซูล (น้ำหนักสปอร์จำนวน 1 กก. จะเก็บมาจากดอกเห็ดหลินจือน้ำหนัก 100 กก. เมื่อนำมากะเทาะเปลือกสปอร์ น้ำหนักจะเหลือประมาณ 8 ขีด หรือ 8 กรัม)
- การศึกษา และ พัฒนาตำรับยาแคปซูล เพื่อให้เหมาะสมกับการรับประทาน เพื่อการบำรุงและรักษาโรค โดยกำหนดปริมาณขั้นต่ำคือ 250 มิลลิกรัม (แต่ MG2 วโรยา ขนาดบรรจุ 450 มิลลิกรัม/แคปซูล อ้างอิงงานวิจัย พบสปอร์กะเทาะเปลือกมีปริมาณสารทางยาสูงกว่าได้จากดอกทั่วไปมากกว่า 20 เท่า) การพัฒนาตำรับยาแคปซูลนี้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการผลิตยา การประเมินคุณสมบัติทางเคมีจึงทำให้สปอร์กะเทาะเปลือกแบบแคปซูล มีความสะอาด สะดวก และควบคุมประมาณทางยา เพื่อประโยชน์ในการรักษาโรคได้แม่นยำ มีประสิทธิภาพสูงมาก
- สปอร์เห็ดหลินจือ MG2 ทุกมิลลิกรัมต้องผ่านการฉายแสงฆ่าจุลินทรีย์ และเชื้อโรคต่างๆ โดยปริมาณสารสำคัญไม่ได้ลดลงและคงคุณภาพของสปอร์เห็ดหลินจือ อีกทั้งมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค (รูปแบบเดียวกับการฉายรังสีอาหาร Food irradition)
4.การวิจัยสรรพคุณทางยาของสปอร์เห็ดหลินจือ
- การศึกษาวิจัย เพื่อเปรียบเทียบสารออกฤทธิ์ สายพันธุ์ G2 (สายพันธุ์สีแดงทั่วไป) G9 (หรือ MG2 : เมืองงาย 2) และสายพันธุ์อื่นๆ เพื่อศึกษาปริมาณสาระสำคัญทางยา พบว่าสายพันธุ์ G9 จากภาพคือ ตำแหน่ง D จะมีแถบสารที่เข้มและยาวกว่าสายพันธุ์อื่นๆ แสดงว่า เห็ดหลินจือ G9 (หรือ MG2 : เมืองงาย 2) มีปริมาณสารโดยเฉพาะกลุ่มไทรเทอร์ปีนมากที่สุด และ สารทางยาตัวอื่นๆ มากกว่าทุกสายพันธุ์
ภาพแสดงปริมาณสารออกฤทธิ์ G9 เทียบกับเห็ดหลินจือสายพันธุ์อื่นๆ
5.การวิจัยฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งของสารสกัดจากเห็ดหลินจือ และสปอร์ MG2
- จากชุดโครงการวิจัยเห็ดหลินจือ และสปอร์เห็ดหลินจือในประเทศไทย ปีงบประมาณ 2553 โดยคณะเภสัชศาสตร์ และคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า สารสกัดดอกเห็ด และ สปอร์มีฤทธิ์กระตุ้น ภูมิคุ้มกัน และไม่เป็นพิษต่อเซลล์ที่มีนิวเคลียสเดียวของคนปกติ และการศึกษาในหลอดทดลอง พบว่า สารสกัดน้ำ และ เอทานอล ของเห็ดหลินจือ ทำให้เซลล์มะเร็ง ชนิด Solid tumor SKBR3 ตายแบบ apoptosis ได้ (หรือ เรียกว่า ทำให้เซลล์มะเร็งตายได้)
อ้างอิง…บทคัดย่อผลงานวิจัยเห็ดหลินจือ
บทสรุป – จากโครงการเพาะเลี้ยงเห็ดหลินจือ G2 ในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ปี 2531 มาสู่การเพาะเลี้ยงเห็ดหลินจือ เพื่อใช้ประโยชน์จากสปอร์กะเทาะเปลือก สายพันธุ์ใหม่ G9 (หรือ MG2 : เมืองงาย 2) ในช่วงปี 2551-2555 กว่า 20 ปี ของการพัฒนาเห็ดหลินจือในประเทศไทย เพื่อเป็นยาบำรุงร่างกาย และรักษาสารพัดโรคเพื่อคนไทยให้มีสุขภาพที่แข็งแรง
^-^ กดปุ่มแชร์ในโซเชียลมีเดีย ช่วยกันเผยแพร่ให้คนไทยกว่า 70 ล้านคนได้ทราบข้อมูลงานวิจัยด้านเห็ดหลินจือโครงการสวนเกษตรเมืองงาย วันนี้ผลผลิตจากโครงการได้เสร็จสิ้น จึงนำมาเผยแพร่เพื่อให้คนไทยได้ทราบและทานเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย!! ^-^